เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับประเทศเกาหลี
สถานที่ตั้ง: ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ครึ่งล่างของคาบสมุทรเกาหลีที่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลตะวันออกและทะเลเหลือง
เมืองหลวง: กรุงโซล
เพลงประจำชาติ: แอกุกกา
สัญชาติ: เกาหลี
การรวมกลุ่มทางเชื้อชาติ: คนส่วนมากเป็นคนสัญชาติเกาหลี (นอกเหนือจากประชากรกลุ่มเล็กๆที่มาจากถิ่นอื่นแต่อาศัยอยู่ในประเทศถาวร) เกาหลีเป็นประเทศหนึ่งที่มีประชากรเป็นชนชาติของตัวเองมากที่สุด
ประชากร: 51 ล้านคน (นับจากปี 2019)
อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร: 0.53% (นับตั้งแต่ปี 2019)
ภูมิอากาศ: อบอุ่น ฝนตกหนักในฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาว
เขตเวลา: เวลามาตรฐานเกาหลี UTC (UTC+09:00)
สกุลเงิน: วอนเกาหลีใต้
การปกครอง: สาธารณรัฐ
อัตราการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต: 92.1% (ปี2016)
คนเกาหลีใต้ใช้ภาษาเกาหลีเพียงภาษาเดียว โดยทั่วโลกมีคนอยู่
ประมาณ 70 ล้านคนที่พูดภาษาเกาหลี
โครงสร้างทางภาษา ไวยากรณ์ และคำศัพท์นั้นคล้ายคลึงกับภาษา
ญี่ปุ่น ส่วนภาษาถิ่นมีหลากหลายตามภูมิภาค
ส่วนมากสำเนียงจะแตกต่างกัน แต่ยังมีความคล้ายคลึงกันอยู่
ผู้พูดหรือผู้ฟังจึงเข้าใจกันได้ง่าย ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิด
ความแตกต่างของภาษาพื้นเมืองคือสถานะทางสังคม
เกาหลีเป็นประเทศที่มีอัตราการอ่านออกเขียนได้สูงที่สุดประเทศหนึ่ง เนื่องจากภาษาเขียนมีหลักการออกเสียงง่าย
โดยถูกคิดค้นขึ้นในกลางศตวรรษที่ 15 เพื่อให้ชาวเกาหลีได้นำไปใช้
ประเทศเกาหลีใต้ให้เสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา โดยคนเกาหลี
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และลัทธิขงจื๊อ
หลายคนเชื่อเรื่องวิญญาณบรรพบุรุษและประกอบพิธีกรรมของ
ลัทธิขงจื๊อ โดยลัทธินี้ถือเป็นหลักปรัชญาทางสังคมและ
การเมืองที่แพร่หลายครอบคลุมวัฒนธรรมเกาหลี
มีสองวัน ได้แก่ วันปีใหม่ (วันที่พระจันทร์เต็มดวงเป็นครั้งที่สองหลัง
จากวันทักษิณายัน)
วันชูซอก (วันที่พระจันทร์เต็มดวงครั้งที่แปด)
การเฉลิมฉลองเทศกาลเหล่านี้จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องบรรพบุรุษ
ครอบครัว การละเล่น เทศกาลเก็บเกี่ยว และอาหารการกิน
ในประเทศเกาหลี สถาบันครอบครัวถือเป็นส่วนสำคัญต่อชีวิตและ
ขนบประเพณีต่างๆ การจัดงานแต่งงานคือเรื่องปกติในสังคม
โดยคนเกาหลีนับว่าการแต่งงานเป็นพิธีเปลี่ยนสภาวะ
ส่วนการหย่าร้างนั้นเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่ในปัจจุบันเริ่มกลายเป็น
เรื่องธรรมดา ในหลายๆครอบครัวมีแนวคิดว่าฝ่ายชายเป็นใหญ่
กว่าฝ่ายหญิงและตระกูลเหล่านี้ยังนับญาติกับบรรพบุรุษ
ทางฝั่งสามีอีกด้วย ตามประเพณีแล้ว ลูกชายคนโตจะเป็นผู้ได้รับ
มรดก อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป และถูกทำให้
เท่าเทียมกันโดยกฎหมาย ลูกชายคนโตจะต้องแบกรับความรับผิดชอบต่อครอบครัวมากกว่าคนอื่นๆ
และถูกคาดหวังว่าจะต้องดูแลพ่อแม่ยามแก่เฒ่าอีกด้วย
ที่มา: commisceo-global
บริการของศูนย์การแปลทีไอเอส