การเป็นนักพากย์เสียงอาจเป็นความฝันของคนหลายๆ คน เพราะนับตั้งแต่วัยเด็กเราได้ดูการ์ตูนและภาพยนตร์จำนวนมากที่มีเสียงพากย์ที่คุ้นเคย อาทิ เสียงพากย์การ์ตูนโดเรม่อนจากทีมงานช่อง 9 การ์ตูน หรือภาพยนตร์จีนหลายเรื่องที่มีทีมงานนักพากย์ชื่อก้องอย่างพันธมิตร ซึ่งอาจทำให้หลายคนใฝ่ฝันอยากเป็นนักพากย์อย่างมืออาชีพอย่างพวกเขาบ้าง แต่เส้นทางอาชีพนักพากย์ ก็เป็นเช่นทุกๆ อาชีพที่ต้องมีการเรียนรู้ พัฒนา ฝึกซ้อม จนเกิดความชำนิชำนาญจึงจะประสบความสำเร็จได้
วันนี้เรามีคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับนักพากย์มือใหม่ที่อยากเดินเข้าสู่เส้นทางสายอาชีพนี้กันดังนี้
การพากย์เสียงโดยการอ่านสคริปท์ที่เตรียมไว้เป็นคำแนะนำลำดับแรกสำหรับนักพากย์มือใหม่ทุกคน หรือแม้กระทั่งมือเก๋าก็ตาม
นักอยากพากย์จะต้องฝึกอ่านสคริปท์ แต่เดี๋ยวก่อน การอ่านสคริปท์มิใช่อ่านในใจให้ตัวเองได้ยินอยู่คนเดียว มือใหม่ทุกคนจะต้องฝึกอ่าน อ่าน อ่าน แล้วก็อ่านสคริปท์ทุกๆ วันเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับการอ่าน คุณควรฝึกอ่านโดยมีการเว้นวรรคตอนที่ถูกต้อง การออกเสียงสูงเสียงต่ำตามเนื้อหาสคริปท์ ส่วนสคริปท์ที่อ่านนั้นสามารถเป็นเนื้อหาอะไรก็ได้ไม่วาจะเป็นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร เนื้อหาบนเว็บไซต์ ฯลฯ ประเด็นสำคัญคือการที่นักพากย์มือใหม่อย่างคุณจะต้องฝึกนิสัยการอ่านและการฝึกซ้อมให้เป็นประจำเท่านั้นเอง อย่าลืมว่า ยิ่งซ้อม ยิ่งเก่ง
งานพากย์เสียงทุกชิ้นเริ่มต้นด้วยสคริปท์หรือบทพากย์ สิ่งที่คุณจะตระหนักได้อย่างรวดเร็วเมื่อเริ่มซ้อมอ่านสคริปท์ก็คือ บทพากย์หรือสคริปท์ที่แม้ว่าจะเขียนได้ดีพียงใดก็ตาม แต่เมื่ออ่านออกเสียงแล้วในบางครั้งอาจฟังแล้วแปร่งหูก็เป็นได้ เพราะกลุ่มเป้าหมายของงานเขียนกับการพากย์เสียงแตกต่างกันนั้นเอง
ดังนั้น คุณจะต้องฝึกนิสัยให้เป็นคนที่รักการอ่านและเรียนรู้ที่จะตีความเนื้อหาที่แท้จริงในสครปท์เพื่อนำมาปรับให้เหมาะสมกับงานพากย์เสียงนั้นเอง ในภาษาอังกฤษเรียกกระบวนการนี้ว่า Voice Acting (แอคติ้งเสียง) ดังนั้นงานพากย์เสียงเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับทักษะการแอคติ้งและทักษะการอ่าน ดังนั้นนักพากย์เสียงมือใหม่จำเป็นที่จะต้องอ่านและฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้น วิธีการซ้อมอ่านสคริปท์ก็คือการอ่านออกเสียงออกมาให้ชัดเจน เมื่อคุณอ่านออกเสียงออกมาคุณจะรู้เองว่าข้อผิดพลาดที่คุณควรปรับปรุงมีอะไรบ้าง คุณก็กลับไปอ่านทบทวนและแก้ไขข้อผิดพลาดในการอ่านบทสคริปท์เหล่านั้นจนกว่าคุณจะอ่านได้คล่องแคล่ว หากคุณใช้สคริปท์ที่หามาได้จากโลกอินเตอร์เน็ท คุณควรตรวจสอบรูปแบบการใช้ภาษาและไวยากรณ์ก่อนทำการซ้อมอ่านสคริปท์ด้วย และอย่าลืมพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษโดยกำหนดขนาดตัวอักษรให้ใหญ่เพียงพอที่จะอ่านได้โดยง่าย
ขั้นตอนถัดไปในการพากย์คือ การปรับเปลี่ยนบทพากย์หรือสคริทป์ตัวหนังสือให้ออกมาโลดแล่นผ่านเสียงพากย์นั่นเอง
การพากย์เสียงมีสองส่วนที่สำคัญคือ
ในฐานะนักอยากพากย์หรือมือใหม่ คุณสามารถพัฒนาทักษะการตีความบทพากย์หรือสคริปท์ได้โดยการจินตนาการว่าคุณกำลังพูดอยู่กับใครซักคนไม่ว่าจะเป็นเพื่อน เพื่อนบ้าน หรือคนรู้จัก นี่เป็นวิธีการง่ายๆ ที่คุณสามารถฝึกซ้อมได้เป็นประจำทุกวัน
การแอคติ้งเสียงเป็นการนำเอาบทพากย์ที่อยู่ในรูปแบบของตัวอักษรมาทำให้มีชีวิตผ่านการอ่านออกเสียงราวกับว่าคุณเอาบทหรือตัวละครที่อยู่ในหนังสือมาออกโลดแล่นในชีวิตจริง หรือทำให้หนังสารคดีมีความน่าสนใจมากขึ้น หรือทำให้เนื้อหาโฆษณาเป็นที่น่าสนใจเมื่อผู้ชมได้รับฟังเสียงพากย์ของคุณ การทำความเข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครหรือสคริปท์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อที่จะให้การพากย์ของคุณสามารถ่ายทอดผ่านเสียงพากย์ได้อย่างมืออาชีพ สิ่งสำคัญของเส้นทางการเป็นนักพากย์มืออาชีพ คือ ซ้อม ซ้อม ซ้อม แล้วก็ซ้อมนั่นเอง
นักพากย์มือใหม่อาจลองฝึกซ้อมบทพากย์โดยใส่อารมณ์ความรู้สึกต่อไปนี้ร่วมด้วย อาทิ
คุณอาจเลือกบทพากย์จากนวนิยายในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วนำมาฝึกซ้อมโดยการใส่อารมณ์ความรู้สึกลงไป แล้วพากย์เสียงสคริปท์นั้นๆ ออกมา
ก่อนเริ่มต้นพากย์เสียงในชิ้นงานใดๆ สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือการซ้อมเสียง เสียงของคุณอาจไม่ได้ดั่งที่ใจคิดแต่แรกในทันที ดังนั้น การซ้อมเสียงในช่วงแรกๆ เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองส่วนในช่วงของการซ้อมก็คือ ร่างกายและเนื้อเสียงของคุณ หากคุณรู้สึกตึงเครียดหรือวิตกกังวล อาจทำให้เสียงที่ออกมาไม่ได้ดีตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นก็ได้
อันดับแรก คุณพยายามผ่อนคลายและให้ความสำคัญกับเนื้อหางานที่อยู่ต่อหน้า คุณอาจเริ่มต้นโดยขยับตัวไปมาเล็กน้อยๆ ยืดเส้นยืดสาย โดยพยายามควบคุมลมหายใจเข้าออกให้เป็นปกติและสม่ำเสมอ หรือคุณอาจหมุนศรีษะซ้ายขวาหรือหมุนตามและทวนเข็มนาฬิกาซักสองสามรอบ หมุนหัวไหล่บิดซ้ายบิดขวาเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวร่างกายง่ายๆ เหล่านี้อาจะช่วยให้คุณผ่อนคลายความเกร็งลงได้ในระดับหนึ่ง
ในช่วงเริ่มแรก ถ้ามีงบเพียงพอ เราขอแนะนำให้เริ่มต้นจากการมีโฮมสตูดิโอเล็กๆ ที่บ้าน ในฐานะนักพากย์มือใหม่ คุณสามารถใช้คอมพิวเตอร์หรือแลปท็อปก่อนก็ได้ ซึ่งหากใครใช้ Mac ก็จะมีคุณภาพเสียงที่ดีกว่าพีซีทั่วๆ ไป ลำดับแรก คุณเริ่มทำการบันทึกเสียงพากย์โดยการอ่านสคริปท์แล้วเปิดโปรแกรมบันทึกเสียงในคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เปิดฟังเสียงพากย์ของคุณเอง หากคุณมีความสามารถในการตัดต่อเสียงเบื้องต้นก็จะดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการลดเสียงรบกวน การเพิ่มคุณภาพเสียงเบื้องต้น แต่ในขั้นนี้สิ่งที่สำคัญคือการได้ฟังเสียงพากย์ของตัวเอง
สำหรับการพากย์เสียงนั้น สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือไมโครโฟนคอนเดนเซอร์และซาวด์การ์ด ทางเราขอแนะนำไมโครโฟนและการ์ดเสียงในช่วงระดับราคา 5,000 บาทขึ้นไปจึงจะให้เสียงที่มีคุณภาพดีในระดับหนึ่ง ส่วนไมโครโฟนธรรมดา หรือกระทั่งไมโครโฟนที่ติดมากับคอมพิวเตอร์ทั่วไป ยากที่จะสร้างสรรค์งานเสียงที่มีคุณภาพออกมาได้หากเทียบกับไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ เมื่อคุณได้ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์มาแล้ว คุณก็เสียบสาย USB เข้าในช่องเสียบของคอมพิวเตอร์หรือการ์ดเสียงเพื่อพร้อมสำหรับการบันทึกเสียงพากย์ของคุณ
เมื่อคุณพร้อมแล้ว คุณควรทำการบันทึกเสียงและอ่านสคริปท์สั้นๆ ในห้องที่เงียบ ปราศจากเสียงรบกวน โดยเริ่มอ่านสคริปท์สั้นๆ และตรวจสอบดูว่าระดับเสียงเหมาะสมหรือไม่ ไม่ดังไป ไม่เบาไป เป็นต้น
จากนั้น ก็เริ่มทำการบันทึกเสียงจริง อ่านสคริปท์โดยจัดตำแหน่งไมโครโฟนในระดับความสูงที่พอเหมาะ อ่านและบันทึกเสียง จากนั้นเปิดย้อนกลับไปฟังเสียงที่บันทึกไว้ และเมื่อบันทึกเสียงแล้วเสร็จ คุณสามารถหาโปรแกรมตัดต่อเสียงเพื่อมาเปิดฟังและแก้ไขเพิ่มคุรภาพเสียงในภายหลังได้ โดยโปรแกรมฟรียอดนิยมก็คือโปรแกรม Audacity นั่นเอง
เส้นทางสู่การเป็นนักพากย์มืออาชีพนั้น มีสิ่งที่จะต้องให้เรียนรู้อีกมากมาย สำหรับในวันนี้ ศูนย์การแปลทีไอเอส ผู้นำในการให้บริการด้าน รับแปลเอกสาร รับแปลภาษา รับพากย์เสียง และจัดส่งล่ามระดับมืออาชีพ ได้ให้คำแนะนำ ทิป และเคล็ดลับสำหรับนักพากย์มือใหม่ทุกท่านไว้แล้ว เพียงคุณนำไปปฏิบัติ เราเชื่อว่าคุณสามารถที่เดินเข้าสู่เส้นทางสายนี้ได้อย่างแน่นอน
ภาพประกอบ Pixabay