ความเชื่อลึกลับของชาวญี่ปุ่น ตอนที่ 1

ความเชื่อลึกลับของชาวญี่ปุ่น ตอนที่ 1

ในแต่ละประเทศก็มีความเชื่อทางไสยศาสตร์และสิ่งลึกลับที่แตกต่างกันไป สำหรับคนญี่ปุ่นแล้ว ก็มีความเชื่อว่านี้เช่นกัน

夜に爪を切っては行けない/よるにつめをきってはいけない ⇒ ห้ามตัดเล็บในเวลากลางคืน
霊柩車から親指を隠す/れいきゅしゃからおやゆびをかくす ⇒ ซ่อนหัวแม่มือเมื่อเห็นรถขนศพ

夜の笛すべきでない/よるのふえすべきでない ⇒ ห้ามผิวปากในเวลากลางคืน

1. ห้ามตัดเล็บในเวลากลางคืน

yoru ni tsume wo kitte wa ikenai / โยรุ นิ ซึเมะ โว๊ะ คิเตะ ว่ะ อิเคไน
夜に爪を切っては行けない/よるにつめをきってはいけない

ในอดีตเมื่อครั้งยังไม่มีการใช้ไฟฟ้าเพื่อส่องสว่างตามท้องถนนหรือตามบ้านเรือนในยามค่ำคืน ผู้คนมักใช้ตะเกียงเป็นหลัก ชาวญี่ปุ่นในอดีตส่วนมากเชื่อว่าภูตผีปีศาจร้าย าคึโย่  (悪霊/あくりょう) มักจะปรากฎตัวยามค่ำคืน

ทั้งนี้ คนญี่ปุ่นเชื่อว่าอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ตัดสิ่งของ อาทิ กรรไกรตัดเล็บ มีอำนาจลึกลับที่เรียกว่า เรโรคึ / reiryoku (霊力/れいりょく) ที่สามารถดึงดูดความสนใจของเหล่าภูตผีปีศาจได้ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดอะไรก็ตามจะก่อให้เกิดช่องว่างในสิ่งที่ถูกตัดซึ่งทำให้ผีร้ายสามารถแทรกเข้ามาระหว่างช่องว่างนั้นได้หากใช้ในยามค่ำคืน  แต่ปัจจุบันนี้ ความเชื่อนี้คนญี่ปุ่นหลายคนก็ไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไหร่นัก เพราะเราได้มีระบบไฟฟ้าและระบบส่องสว่างที่ใช้งานกันอย่างทั่วถึง

2. ควรซ่อนหัวแม่โป้งเมื่อเห็นรถขนศพ

reikyuusha kara oyayubi wo kakusu  
霊柩車から親指を隠す/れいきゅしゃからおやゆびをかくす

คำภาษาญี่ปุ่นที่เรียก “นิ้วโป้ง” คือคำว่า oyayubi (親指/おやゆび) ซึ่งหมายถึง “นิ้วผู้นำครอบครัว” ซึ่งคนญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งอาจพูดให้ฟังว่า “ระวังนะ คุณพ่อคุณแม่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หากคุณไม่ซ่อนนิ้วหัวแม่มือ เมื่อเห็นรถขนศพ!”  ทั้งนี้มีความเชื่อว่าวิญญาณผู้เสียชีวิตอาจมีความคิดผูกพยาบาทและล่องลอยอยู่รอบๆ หีบศพภายในรถขนศพ ซึ่งหากได้เห็นรถขนศพแล้วไม่กำหัวแม่มือแล้วหล่ะก็ วิญญาณผีสิงก็จะเข้าสิงร่างกายคนผู้นั้นบริเวณด้านล่างของนิ้วหัวแม่โป้ง นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นหลายคนยังซ่อนนิ้วหัวแม่โป้งของตนเองเมื่อพวกเขาเดินทางสุสานหรือพิธีสวดศพอีกด้วย

3. ไม่ควรผิวปากเวลากลางคืน

yoru no fue subeki de nai
夜の笛すべきでない/よるのふえすべきでない

ในอดีต การผิวปากนั้นเป็นที่นิยมของพวกนักย่องเบาและเหล่าอาชญากรในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ในภาษาญี่ปุ่นนั้น “หัวขโมยยามค่ำคืน” มีคำภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า yatou (夜盗/やとう).

ซึ่งตัวคันจิตัวแรก (อ่านว่า “ย่า” หมายถึง “เวลากลางคืน” และตัวคันจิตัวที่สอง (อ่านว่า “โท๊ะ) หมายถึง “ขโมย” หรือ “ปล้น” ซึ่งการผิวปากนั้นมักถูกเชื่อมโยงกับผู้บุกรุก หัวขโมย และอาชญากรต่างๆ ซึ่งทุกวันนี้ยังมีความเชื่อที่ว่า การผิวปากในเวลากลางคืนจะเท่ากับเป็นการเรียกร้องความสนใจของกลุ่มคนร้ายหรือกระทั่งสัตว์เลื้อยคลานอย่างงูให้เข้ามาภายในบ้านของคุณ

4. ไปศาลเจ้าเพื่อสาปแช่ง

ushi no kokumairi
丑の刻参り/うしのこくまいり

เราจะพบเห็นได้บ่อยในหนังสยองขวัญหรือหนังผีของญี่ปุ่นเกี่ยวกับการสาปแช่ง พิธีกรรมนี่เรียกว่า ushi no koku mairi  (丑の刻参り/うしのこくまいり) โดยคนที่ทำพิธีนี้จะมายังศาลเจ้าในช่วงเวลาตีหนึ่งถึงตีสาม

คนทำพิธีจะเอาตุ๊กตาสาปแช่งที่เรียกว่า waranigyou (藁人形/わらにんぎょう) ที่เป็นตัวแทนของคนที่จะถูกสาปแช่ง และใช้ตะปูยาวๆ หนึ่งดอกที่เรียกว่า gosunkugi (五寸釘/ごすんくぎ)  ตอกตุ๊กตาตัวแทนดังกล่าวไปยังต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้า เมื่อใดก็ตามที่ตอกตะปูลงไป ณ ส่วนหนึ่งส่วนใดของตุ๊กตาตัวแทนก็จะเสมือนว่าคนที่ถูกสาปก็จะรู้สึกเจ็บปวดไปในส่วนนั้นๆ ตามไปด้วย

ทั้งนี้ มีความเชื่อที่ว่าหลังจากผ่านไปแล้วเจ็ดวัน ความเกลียดชังที่บางคนรู้สึกได้จะหายไปจากร่างกายของพวกเขา อย่างไรก็ตาม หากมีคนเห็นพิธีสาปแช่งอยู่แล้วหล่ะก็ คำสาปแช่งก็จะถูกย้อนกลับเข้าหาตัวผู้ทำพิธีสาปเองในที่สุด

5. เข้าวัดหรือศาลเจ้าเพื่อขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ohyakudo mairi
御百度参り/おひゃくどまいり

หากชาวญี่ปุ่นปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบความสำเร็จ การขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ ศาลเจ้า  jinja (神社/じんじゃ) หรือ วัด otera (お寺/おてら) เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ ซึ่งพิธีกรรมนี้ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ohyakudo mairi (お百度参り/おひゃくどまいり) ซึ่งหมายถึง “การจาริกแสวงบุญ” ในพิธีการนี้ จะเริ่มจากการเดินจากประตูของศาลเจ้าไปยังโต๊ะหรือแท่นบูชา (หรือจากประตูวัดไปยังห้องโถงหลัก) ประมาณหนึ่งร้อยรอบเพื่อขอพรให้สิ่งที่คิดหรือที่บนบานไว้สมความปรารถนา และยังเชื่อว่าการถอดรองเท้าเดินก็จะช่วยให้สิ่งที่อธิษฐานไว้มีโอกาสสำเร็จสูงขึ้นยิ่งไปอีก นอกจากนี้ การไปกราบสักการะศาลเจ้าและอธิษฐานหรือบนบานให้ความปรารถนาของตนประสบความสำเร็จวันละครั้งรวมหนึ่งร้อยวัน ก็จะช่วยให้สิ่งที่บนบานไว้เป็นจริงขึ้นมาได้ด้วยเช่นกัน

ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากยังคงปฏิบัติตามความเชื่อนี้ในปัจจุบันเมื่อพวกเขาอยากให้สิ่งที่อธิษฐานหรือบนบานไว้เป็นจริงขึ้นมา อย่างไรก็ตาม หากคำอธิษฐานไม่ส่งผล ผู้อธิษฐานอาจบนบานที่จะให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นการตอบแทน เช่น การบริจาคเงินให้แก่วัด หรือการเข้ามากราบสักการะที่วัดบ่อยครั้งขึ้น เป็นต้น


Tag: รับแปลภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ | รับแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาญี่ปุ่น | ล่ามญี่ปุ่น-ไทย

ภาพประกอบ: Pixabay

คุณสัจจา
คุณสัจจา
ผู้ก่อตั้ง ผู้บริหารและผู้จัดการทั่วไปของศูนย์การแปลนานาชาติทีไอเอส ทรานสเลชั่น ผู้ที่มีประสบการณ์ในแวดวงการแปลมานับทศวรรษ คุณสัจจาเป็นผู้เชื่อในหลักการ "Lifelong Learning" การเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นผู้ที่ชอบไขว่คว้าหาความรู้ด้านต่างๆ บนโลกออนไลน์อย่างไม่หยุดหย่อน